เปลี่ยนการแสดงผล th

A-AA+

ข้อมูลพื้นฐาน โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์

รหัสโรงเรียน 10 หลัก :   1070480359
รหัส Smis 8 หลัก :   70012007
รหัส Obec 6 หลัก :   480359
ชื่อสถานศึกษา(ไทย) :   ราชโบริกานุเคราะห์
ชื่อสถานศึกษา(อังกฤษ) :   
ที่อยู่ :   หมู่ที่      บ้าน
ตำบล :
อำเภอ :
จังหวัด :   
รหัสไปรษณีย์ :   
โทรศัพท์ :   0-3232-7136-7
โทรสาร :   032315669
ระดับที่เปิดสอน :
วัน-เดือน-ปี ก่อตั้ง :   
อีเมล์ :   
เว็บไซต์ :   http://http://www.ratb.ac.th
 เว็บไซต์โรงเรียน (Host สพฐ.)
เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา :   
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น :   ราชบุรี
ระยะทางจากโรงเรียน ถึง เขตพื้นที่การศึกษา:    กม.
ระยะทางจากโรงเรียน ถึง อำเภอ:    กม.
รหัสโรงเรียน 10 หลัก :   1070480359

       แต่เดิมมาโรงเรียนสตรีประจำมณฑลได้อาศัยเล่าเรียนรวมอยู่ในโรงเรียนประจำ มณฑลคือ  เบญจมราชูทิศ  ครั้นต่อมามหาอำมาตย์โทพระยาคทาธรบดี  พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ธรรมการมณฑล คือ รองอำมาตย์เอกหลวงสรรพพากย์พิสุทธิ์  ได้เล็งเห็นความจำเป็นแห่งการศึกษาสำหรับเด็กหญิงในมณฑลนี้ มีดำริหาสถานที่เล่าเรียนให้เป็น โรงเรียนสตรีขึ้นโดยเฉพาะ  จึงได้จัดการประกาศเชิญชวนบรรดาพ่อค้าข้าราชการและราษฎรขอความช่วยเหลือใน การก่อสร้างโรงเรียนสตรีขึ้น   แต่การนี้ยังไม่เป็นผลสำเร็จพระยาคทาธรบดีได้ออกจากราชการไปเสียก่อน  ครั้นต่อมามหาอำมาตย์โทพระยา อรรถการยบดี  ได้มารับตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลราชบุรี และ อำมาตย์เอกพระยาอรรถกระวีสุนทรเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี มีความ-เมตตากรุณาแก่กุลบุตรกุลธิดาและประชาชนในท้องที่นี้โดยเห็นชอบด้วยใน การที่ได้ดำริ  จัดการก่อสร้างโรงเรียนสตรีขึ้น  จึงได้ดำเนินการต่อ  เนื่องตลอดมาเพื่อจะทำนุบำรุงการศึกษาของสตรีให้มีความเจริญยิ่งขึ้นสืบไป ได้บอกบุญเรี่ยไรตามบรรดาพ่อค้า ข้าราชการและราษฎรในจังหวัดราชบุรีเป็นส่วนมาก  ทั้งได้หาเงินมาช่วยเหลือ  ด้วยเงินที่เหลือจากการกุศลรายอื่น ๆ บ้าง  นอกจากนั้นครูและนักเรียนได้แสดงละครเก็บเงินได้บ้าง  และนางง้อ  (บวรนายก)  ได้บริจาคให้เป็นจำนวนเงินหนึ่งพันบาท (1,000 บาท) กับกระทรวงธรรมการ  ได้ช่วยเหลือด้วยเงินรัฐบาล อีก  4,000  บาท (สี่พันบาท)  รวมได้เงินทั้งสิ้น  11,128  บาท 47  สตางค์   (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันหนึ่งร้อยยี่สิบแปดบาทสี่สิบเจ็ดสตางค์) การก่อสร้างโรงเรียนสตรีหลังนี้จึงเป็นผลสำเร็จสมความประสงค์

       การดำเนินการก่อสร้างจัดสร้างเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น 4 ห้องเรียนในเนื้อที่ ราชพัสดุ จำนวน  5  ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ข้างที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข  และในวันที่ 19 ธันวาคม 2470 พระองค์เจ้าธานีนิวัติ ได้เสด็จมาเปิดอาคารเรียน  โรงเรียนเปิดสอนชั้นประถมปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 มี  10  ห้องเรียน  จำนวนนักเรียน  115  คน  และ ครู  8  คน

     โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ได้ดำเนินการมาจนปีการศึกษา 2519 โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เข้าโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมส่วนภูมิภาค  (คมภ. 1 รุ่น 3)     โดยกู้เงินจากธนาคารโลก  ด้วยโครงการดังกล่าว  โรงเรียนจึงจำเป็นต้องหาที่ดินใหม่เพราะต้องมีเนื้อที่  กว้างพอที่จะรับนักเรียน   เพิ่มมากขึ้น และต้องมีโรงฝึกงาน ดังนั้นกรมสามัญและสำนักงาน ศึกษาธิการ เขต 5 ได้รายงานไปยังกระทรวงศึกษาธิการ  ขอแลกเปลี่ยนที่ดินของโรงเรียน ตลอดจนตัวอาคารเรียนกับ สำนักงานศึกษาธิการ  เขต  5    ซึ่งมีเนื้อที่  10  ไร่เศษ  และ ขอใช้ที่ราชพัสดุที่มีเนื้อที่ติดกันอีก 17 ไร่เศษ เพื่อให้โรงเรียนใช้เป็นที่สร้างโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ใหม่และได้รับ อนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย  เมื่อวันที่  10  กุมภาพันธ์  2514  รวมเนื้อที่ทั้งหมด  27  ไร่  1  งาน  91  ตารางวา  (43,964 ตร.ม) การเพิ่มเติมอาคารเรียน  อาคารประกอบ ตลอดจนปรับปรุงบริเวณโรงเรียนให้มีเนื้อที่กว้างขึ้น โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ จึงจัดเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่